วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการเลือกช่องทางเข้า ออก บ้านนกแอ่น Swiftlet Entrance hole or In-out hole

การกำหนดช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่น
1การขึ้นและตกของดวงอาทิตย์
หากยึดตามหลักของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ก็จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นอยู่ทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก เพราะแสงอาทิตย์จะส่องเข้าสู่บ้านนกแอ่นได้ รูปแบบของช่องทางเข้า-ออก จึงควรอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ แต่นี่ก็ไม่ใช่กฎเกณฑ์ข้อบังคับหากทิศเหนือและทิศใต้มีสิ่งกีดขวางทางเข้า-ออก เช่น มีตึกสูงบังอยู่ ด้านที่เป็นช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นควรมีพื้นที่ว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้นกแอ่นสามารถบินเล่นได้
2ขนาดของช่องทางเข้า ออกของบ้านนกแอ่น ขนาดช่องทางเข้า ออกของบ้านนกแอ่นควรมีขนาด 80x40เซนติเมตร สำหรับบ้านนกแอ่นใหม่ เพื่อให้นกแอ่นบินเข้า-ออกได้สะดวก และควรมีช่องทางเข้า-ออกเพียงช่องเดียว เพราะยิ่งมากช่อง แสงก็จะเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่นมากขึ้น ที่ปากทางเข้า-ออกจะเป็นที่ติดตั้งลำโพงเสียงเรียกนอก (Swiftlet external chirp) เสียงเรียกนอกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการดึงดูดให้นกแอ่นเข้าสู่บ้านนกแอ่นใหม่
3มีพื้นที่สำหรับทำวงบินของนกแอ่น เมื่อนกแอ่นได้ยินเสียงเรียกที่ปากทางเข้าบ้านนกแอ่น นกแอ่นก็จาเริ่มทำการสำรวจโดยการบินวนเพื่อดูสภาพแวดล้อมภายนอกก่อน และตัดสินใจเข้าสำรวจภายในบ้านนกแอ่น

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ร้อน ร้อน รู้อ่ะป่าวเราไปไหนกัน....


เด่วว่างจามาต่อนะ

วิธีทำฮอร์โมนสำหรับบ้านนกแอ่น

สำหรับผู้ทำบ้านนกแอ่นที่กำลังกังวลว่านกแอ่นจาอยู่หรือไม่อยู่บ้าน กลัวกลัวแล้วก็กลัว จนอยากใช้ฮอร์โมน แต่ไม่รู้ว่าซื้อมาแล้วจาได้ผลหรือไม่ได้ผลและอยากรู้ว่าฮอร์โมนนี้มีส่วนผสมของอารายบ้าง มาคลายข้อสงสัยกันในบทความนี้ครับ ส่วนใหญ่แล้วฮอร์โมนที่ขายกันก็นำส่วนผสมที่มาจากความคุ้นเคยของนกแอ่นพวก รักนกแอ่นหรือเศษรังนกแอ่น ขี้นกแอ่น ไข่นกแอ่น ฯลฯ มาผสมกันแล้วผสมน้ำฉีดพ้นที่ไม้ตีรัง วิธีนี้คงจาช่วยประหยัดงบประมาณของผู้ทำบ้านนกแอ่นในการทำฮอร์โมนใช้เองครับ ขอให้นกแอ่นอาศัย ทำรังเยอะๆๆครับ

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การปรับแต่งเสียงเรียกนกแอ่น SWIFTLET SOUND MIXER


ปัจจุบันบ้านนกแอ่นมีมากขึ้น จึงมีการแข่งขันแย่งชิงนกใหม่มากขึ้น เสียงเรียกจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดึงนกแอ่นเข้าสำรวจและอยู่อาศัย ดังจาเห็นจากเมื่อมีบ้านนกแอ่นหลังใหม่เปิดเสียงวันแรกจามีนกแอ่นบินวนและเข้าสำรวจบ้านหลังนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นกแอ่น SWIFTLET

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

CCTV



กล้องวงจรปิดหากท่านเป็นคนหนึ่งที่ลังเลใจที่จะเลือกใช้ระบบการบันทึกของกล้องวงจรปิด ว่าจะใช้แบบใดถึงจะตรงใจท่าน อันนี้ก็ต้องถามความประสงค์ของท่านเองล่ะครับว่า ถนัดแบบไหน ใช้งานเพื่อจุดประสงค์อย่างไร ขอนำเอาข้อคิดมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้ท่านมีทิศทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้นกันดีไหมครับ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า ในระบบกล้องวงจรปิดจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ 4 อย่างก็คือ

1. ตัวกล้อง (Camera) ที่มีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่จุดประสงค์การใช้งานของท่าน ตัวอย่างเช่น กล้องมาตรฐาน (แบบทรงเหลี่ยม) กล้องโดม (ทรงกลมตัดครึ่ง) กล้องกันน้ำ กล้องอินฟราเรด กล้องไร้สาย กล้องสปีดโดม กล้องซ่อนขนาดเล็กหรือเลนส์รูเข็ม ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นเสมือนดวงตาที่จะมองภาพในมุมที่เราต้องการเพื่อส่งมายังศูนย์กลางหรืออุปกรณ์รวมและจัดการสัญญาณภาพ

2. อุปกรณ์รวมและจัดการสัญญาณภาพ (Video Processor) เช่น สวิตเชอร์สลับภาพ ควอดเครื่องแบ่งภาพชนิดต่างๆ มัลติเพลกเซอร์ Capture Card DVR ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นตัวศูนย์กลางที่รวมสัญญาณภาพจากกล้องทุกตัว เพื่อส่งสัญญาณภาพไปยังจอมอนิเตอร์ แสดงภาพสด (Display Live View) และส่งภาพไปยังอุปกรณ์บันทึกภาพชนิดต่างๆ

3. อุปกรณ์บันทึกภาพ (Recorder) ทำหน้าที่รับภาพจากอุปกรณ์จัดการสัญญาณภาพ เพื่อเขียนข้อมูลลงในเครื่องบันทึกชนิดต่างๆ เช่น เครื่องบันทึกเทป เครื่องบันทึกแบบฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องบันทึกแบบคอมพิวเตอร์ PC

4. จอมอนิเตอร์ (Monitor) จะใช้เป็นทีวีธรรมดา หรือจอมอนิเตอร์ที่ออกแบบมาใช้กับระบบโดยเฉพาะก็ได้ ซึ่งถ้าเราจะใช้ก็ต้องใช้ตัวแปลง AV to VGA ราคา1000บาทเราก็สามารถใช้จอมอนิเตอร์ที่มีอยู่แล้วนำมาใช้งานกับกล้องวงจรปิดได้เลยครับ

*ระบบการบันทึกแบบบันทึกเทป ไม่นิยมใช้กันแล้วในปัจจุบันในกรณีที่ท่านต้องการใช้งานกล้องเพียงตัวเดียว อุปกรณ์ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องมี Video Processor ก็ได้ คือต่อสัญญาณจากกล้องโดยตรงเข้าสู่เครื่องบันทึกเทป และจากเครื่องบันทึกเทปสู่มอนิเตอร์เลยก็ได้ แต่หากใช้งานหลายกล้อง ระบบแบบนี้จะมีอุปกรณ์ที่แยกชิ้นกันทั้ง 4 ส่วน การบันทึกแบบนี้หากต้องการเก็บหลักฐานการบันทึกไว้นานๆ จำเป็นจะต้องมีม้วนเทปไว้จำนวนมากเพื่อเปลี่ยนตามระยะเวลาที่เนื้อเทปหมด

*ระบบการบันทึกด้วยเครื่องบันทึกภาพดิจิตอล (Stand-alone Digital Video Recorder – DVR)เครื่องบันทึกชนิดนี้จะรวมส่วนของ Video Processor (2) และ ส่วนบันทึก Recorder (3) ไว้ในเครื่องเดียวกัน โดยมากจะเป็นแบบมัลติเพลกเซอร์ มีจำนวนช่องสัญญาณ 4, 8 และ 16 ช่อง ตามความต้องการของผู้ใช้(เครื่องรุ่นใหม่ก็เป็นภาษาไทยแล้วและความละเอียดสูงเท่ากับคอมก็มีนะครับ น่าเล่น) และบันทึกภาพลงสู่ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งชนิดและขนาดของฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ IDE-ATA ที่มีขายอยู่ตามร้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป ยิ่งขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์มีมาก ก็จะยิ่งสามารถบันทึกได้ยาวนานยิ่งขึ้น การดูภาพจากเครื่องก็เพียงแค่ต่อมอนิเตอร์หรือทีวีเข้ากับตัวเครื่องเท่านั้น ขนาดของหน่วยความจำมีความสำคัญมาก ถ้าเราบันทึกภาพไปแล้วนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ก็เท่านั้น เราควรจะจะทึกภาพด้วยคุณภาพสูงไว้ก่อน โดยเพิ่มฮาร์ดดิสมากๆเพื่อจะได้ระยะเวลาที่ได้ตามความต้องการ

*ระบบการบันทึกด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Based Advance DVR)ด้วยความสามารถของระบบปฏิบัติการ Windows และการที่ใช้ซอฟท์แวร์เป็นพื้นฐาน ทำให้ระบบการบันทึกด้วยคอมพิวเตอร์มีความหลากหลายของลูกเล่นและเทคนิคการใช้งานต่างๆ อีกทั้งยังรองรับการพัฒนาขีดความสามารถในอนาคต เรียกว่ารอวันโตตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน เพราะปัจจุบันมนุษย์และสังคมได้รับผลบุญ (รวมทั้งผลกรรม) จากการเติบโตของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงไป ระบบนี้จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับท่านที่มีขีดความสามารถในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์สูงอยู่แล้ว รวมถึงผู้ที่ต้องการพึ่งพาประโยชน์จากขีดความสามารถของมัน ซึ่งมีให้มากกว่าระบบอื่นๆ แต่ก็มีข้อเสียอยู่ตรงที่ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ชอบใช้คอมที่เก่ามาทำเป็นเครื่องบันทึก ทำให้เกิดอาการและปัญหาต่างๆขึ้น ผมแนะนำว่าควรจะใช้คอมเครื่องใหม่ดีกว่า เพราะเท่าที่ประกอบเครื่องเก่ากับการ์ดใหม่มันมักจะมีปัญหา(เครื่องเก่ากว่า2ปี2549ลงไป)

บันทึกเทป DVR (Stand Alone) Advance DVR / Capture Card + Computer
1. สื่อที่ใช้เก็บบันทึก ม้วนเทป E-180, E-240(ต้องเก็บม้วนเทปเป็นจำนวนมาก) Hard Disk 80 – 250 GB Hard Disk 80 – 1500 GB ขึ้นอยู่กับ Main board

2. ระยะเวลาสูงสุดที่สามารถบันทึกได้ 12 / 24 / 168 ชั่วโมง แล้วแต่รุ่นของเครื่องบันทึก 16 – 1350 ชม. (FK-771)13 – 14815 ชม. (EDSR)บน Hard Disk 80 GB (ขึ้นกับความต่อเนื่องและความละเอียดที่ตั้งการใช้งานไว้) ยาวนานที่สุดเมื่อเลือกใช้ความต่อเนื่อง (frame rate) เท่าๆกันกับแบบบันทึกเทปและ DVR (Stand Alone)

3. ความละเอียดของภาพที่บันทึก ความละเอียดใกล้เคียงกับภาพจริง ขึ้นกับอุปกรณ์รวมจัดการสัญญาณภาพ 720 x 576 pixels 320 x 240, 384 x 288, 640 x 480, 768 x 576ขึ้นอยู่กับรุ่น

4. ความต่อเนื่องของภาพ 12 ชั่วโมง = 8 fps24 ชั่วโมง = 3 fps168 ชั่วโมง = 0.5 fps 1 – 25 fps (FK-771)0.1 – 50 FPS (EDSR-400) Max 15 – 400 FPSขึ้นอยู่กับรุ่น

5. ความสามารถในการต่อ Network ทำไม่ได้ ทำได้ในรุ่น EDSR โดยผ่าน LAN แต่อัตราการส่งผ่านข้อมูลต่ำกว่าคอมพิวเตอร์ ทำได้หลากหลายทั้ง LAN, Internet, ISDN, PSTN โดยอาศัยคุณสมบัติการเป็นคอมพิวเตอร์

6. การบันทึกเมื่อมีความเคลื่อนไหวของภาพ ทำไม่ได้ ทำได้ ทำได้โดยมีประสิทธิภาพดีกว่า DVR คือสามารถกำหนดความไวในการตรวจจับได้และกำหนดพื้นที่ที่ต้องการตรวจจับบนภาพได้สะดวก

7. การค้นดูภาพที่เก็บบันทึก ต้องค้นหาจากม้วนเทปของวันที่บันทึกไว้โดยวิธีกรอภาพและดูเวลาที่อยู่บนหน้าจอ โดยต้องหยุดการบันทึกเอาไว้ชั่วคราว เรียกดูโดยระบุวันที่และเวลาที่ต้องการค้นหาภาพได้ โดยต้องหยุดการบันทึกเอาไว้ชั่วคราว เรียกดูโดยระบุวันที่และค้นหาจากเวลาของแต่ละไฟล์ที่ระบุเรียงเอาไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการบันทึก

8. ความชัดเจนเมื่อเล่นภาพเร็วเพื่อค้นหาภาพที่บันทึกไว้ มีเส้นรบกวนขณะค้นหาภาพแบบรวดเร็ว ไม่มีเส้นรบกวนแม้ขณะเล่นค้นหาภาพแบบรวดเร็ว สามารถเพิ่มหรือลดความเร็วได้ 32 เท่า (FK-77x) และ 600 เท่า (EDSR-Series) ไม่มีเส้นรบกวนแม้ขณะเล่นค้นหาภาพแบบรวดเร็ว สามารถเพิ่มหรือลดความเร็วได้ (มากน้อยขึ้นอยู่กับรุ่น)

9. ความคุ้นเคยของผู้ใช้งาน ใช้งานมานาน เป็นที่คุ้นเคยของผู้ใช้งานโดยทั่วไป ลักษณะการใช้งานคล้ายกันกับระบบเทปเดิม เป็นที่คุ้นเคยของผู้ใช้งานทั่วไป ผู้ใช้งานควรมีความรู้พื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง

10. การถ่ายโอนข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน ต้องเก็บด้วยม้วนเทปและเล่นกับเครื่องเล่นที่มีอัตราการบันทึกเดียวกันเท่านั้น สามารถสำรองภาพเหตุการณ์บางช่วงที่สำคัญเข้ากับเครื่องบันทึกเทปเดิมได้ หรือใช้ CF Card ในรุ่น EDSR-Series สามารถส่งออกข้อมูลลงสื่อความจุเช่น CD, Flash Drive ได้โดยเป็นไฟล์ .avi และสามารถหยุดเฟรมภาพบันทึกที่กำลังเล่นอยู่เพื่อเก็บเป็นภาพ .jpg หรือ พิมพ์ภาพได้

11. การเริ่มบันทึกเองโดยอัตโนมัติหลังสิ้นสุดไฟดับ ทำได้ (เฉพาะรุ่น 12 ชั่วโมงไม่มีฟังก์ชั่นตั้งเวลา ทำไม่ได้) ทำได้ ทำได้

12. ระดับราคา แพงที่สุดภายใต้ลักษณะการใช้งานเดียวกันกับ DVR และ Computer

ที่กล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบเท่านั้นนะครับ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Advance DVR / Capture Card + PC ซึ่งมีให้เลือกใช้หลากหลายตามความต้องการและงบประมาณที่มี ก็หวังว่าคงได้แนวทางในการตัดสินใจเลือกแบบใดแบบหนึ่งกันแล้วนะครับ เราจะแนะนำและให้การปรึกษาวิธีการติดตั้งต่างๆจนท่านสามรถติดตั้งเองได้ เพราะเรามีอุปกรณ์ครบทุกชนิด แล้วท่านจะจ่ายแพงกว่าทำใม?

ข้อมูลเปรียบเทียบวัสดุก่อผนังแต่ละชนิด

บ้านนกแอ่น SWIFTLETFARMING

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เสียงเรียกนกแอ่น SWIFTLET SOUND


เสียงเรียกชุดเพิ่มนกแอ่นอย่างรวดเร็ว POPULATION EXPLOSION SOUND
เสียงเรียกชุดนี้เป็นเสียงเร่งให้มีการผสมพันธ์ เหมาะในช่วงนี้มาก

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การเพิ่มความชื้นในบ้านนกแอ่น

ความชื้นเป็นสิ่งสำคัญในการทำบ้านนกแอ่นมาก นกแอ่นชอบความชื้นที่ 85% การเพิ่มความชื้นนั้นมีหลายวิธี ในบทความนี้จาเสนอการทำความชื้นแบบประหยัดโดยการทำน้ำพุ อุปกรณ์ที่ใช้หาได้ง่ายและมีราคาประหยัดมากและได้ความชื้นดีด้วย นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวคิดที่จะให้ท่านได้นำไปเป็นแนวทางในการหาวิธีเพิ่มความชื้นในบ้านนกแอ่น จะใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรก็แล้วแต่ท่านขอให้สามารถเพิ่มความชื้นได้ก็เป็นพอ

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

ช่องทางเข้า-ออกแบบบล็อกแสง

ความมืดในบ้านนกแอ่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตัดสินใจเข้าอาศัยของนกแอ่นมากเพราะนกแอ่นจารู้สึกว่าปลอดภัยในความมืด ช่องทางเข้า-ออกจึงเป็นส่วนที่แสงสว่างเข้าถึงบ้านนกแอ่นยิ่งช่องใหญ่เท่าไหรแสงสว่างก็มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นบ้านนกแอ่นใหม่จึงต้องมีการบล็อกแสงช่องทางเข้า-ออกเพื่อที่ให้นกแอ่นตัดสินใจเข้าอยู่อาศัยเร็วขึ้น ในรูปนี้เป็นตัวอย่างในการบล็อกแสงบ้านนกแอ่นหรืออาจตีกล่องที่ช่องทางเข้าก็ได้

ความมืดในบ้านนกแอ่น

การปรับกลิ่นในบ้านนกแอ่นใหม่

การทำบ้านนกแอ่นใหม่มีหลายปัจจัยที่ท่านต้องพยายามทำให้ได้ตามเงื่อนไข หากท่านนึกถึงสภาพภายในถ้ำนกแอ่นหรือบ้านนกแอ่นที่สำเร็จสูงสุด สิ่งแรกที่ท่านสัมผัสได้คือกลิ่นขี้นกแอ่น ความรู้สึกของท่านคือเหม็น สำหรับนกแอ่นกลิ่นขี้นกแอ่นคือกลิ่นของความคุ้นเคย คือกลิ่นของถิ่นที่อยู่อาศัย ลูกนกแอ่นฟักออกจากเปลือกไข่วันแรก ตายังปิดมองอะไรไม่เห็น แต่จมูกจะสามารถสัมผัสได้กับกลิ่น และกลิ่นแรกที่ลูกนกแอ่นสัมผัสได้คือกลิ่นขี้นกแอ่นภายในถิ่นที่อยู่อาศัย จะสัมผัสกับกลิ่นนี้ไปตลอดจนกว่าจะโตและบินได้ เมื่อบินออกสู่โลกภายนอกจึงจะสัมผัสกลิ่นอื่นๆการทำบ้านนกแอ่นใหม่ หากท่านสามารถหาขี้นกแอ่นมาโรยหรือผสมน้ำสาดฝาผนัง ตามพื้นให้ทั่วภายในบ้านนกแอ่น จะเป็นการช่วยกลบกลิ่นของปูน กลิ่นไม้ กลิ่นสี กลิ่นเชื่อมโลหะ ฯลฯ สร้างกลิ่นที่นกแอ่นคุ้นเคยที่สุดให้กับบ้านนกแอ่นใหม่ ทำให้นกแอ่นตัดสินใจเข้าอยู่อาศัยได้เร็วขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

เคล็ดลับในบ้านนกแอ่นใหม่

1.เสียงเรียกนกแอ่น ต้องเลือกเสียงนกแอ่นที่ดีมีคุณภาพ
2.ลำโพงในบ้าน(ลำโพงทวิสเตอร์)ติดให้มากเท่าไหรยิ่งดี
3.ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้ได้
4.ใช้ขี้นกแอ่นโรยในบ้านหรือผสมน้ำสาดที่ผนัง
5.ไม้ตีรังเหมาะสม แข็งกลาง มีใย ไม่มีกลิ่น เซาะร่องเรียบร้อย
6.ไม่มีศัตรูรบกวนภายในบ้านนกแอ่น
7.
8.
9.
10.
ขอให้ทุกท่านโชคดีมีบ้านนกแอ่นที่ที่มีนกอาศัยอยู่มากมากและรังนกเยอะๆๆๆๆๆ

การระบายอากาศในบ้านนกแอ่น(Ventilation System)

อากาศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสัตว์โลกทุกชนิด การทำบ้านนกแอ่นเพื่อให้นกแอ่นเข้าอยู่อาศัย ต้องคำนึงถึงระบบระบายอากาศเป็นอย่างยิ่ง การปิดช่องทุกช่องที่แสงสว่างสามารถเข้าได้ เพื่อให้บ้านนกแอ่นมีความมืดเสมือนในถ้ำ ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่นได้มากนัก ทำให้รู้สึกอึดอัด การทำระบบระบายอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นทำบ้านนกแอ่นการทำระบบระบายอากาศในบ้านนกแอ่นส่วนใหญ่จะใช้ท่อ PVC ขนาด 4 นิ้ว และใช้ข้องอ 4 นิ้ว ประกอบเป็นรูปตัว L ดังภาพข้างบน ผังในกำแพงรอบๆบ้านนกแอ่น มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระแสลมธรรมชาติรอบๆบ้านนกแอ่นที่ตั้งอยู่ จะทำแบบ 1 แถว หรือ 2 แถว ก็ให้พิจารณาดู ถ้าทำช่องระบายน้อยเกินไปจะเพิ่มทีหลังย่อมยุ่งยาก แต่ถ้าช่องมากเกินไปทำให้ความชื้นในบ้านนกแอ่นลดลง เราสามารถใช้กระดาษอุดในท่อหรือใช้ฝาปิดท่อได้ ด้านในของท่อระบายอากาศที่อยู่ในบ้านนกแอ่น ให้ติดตาข่ายกันแมลงสาป ตุ๊กแก และสัตว์รบกวนอื่นๆระบบระบายอากาศแบบนี้เป็นเพียงตัวอย่างให้ท่านได้เห็นภาพภายในบ้านนกแอ่น ไม่ใช่สูตรสำเร็จ ท่านสามารถใช้วิธีอื่นใดก็ได้ที่ทำให้อากาศระบายได้และประหยัดงบประมาณของท่าน

ลำโพงเสียงเรียกใน

เมื่อนกแอ่นถูกเรียกด้วยเสียงเรียกนอกเพื่อนำเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่นแล้ว หน้าที่ต่อไปจึงเป็นบทบาทของเสียงเรียกใน (Internal swiftlet chirp) เสียงเรียกในเป็นเสียงที่เปิดเพียงพอได้ยิน ให้นกแอ่นได้ยินเสียงเหมือนมีเพื่อนนกแอ่นอื่น ๆ อีกมากมายอาศัยอยู่
ลำโพง Tweeter ขนาดเล็ก เป็นลักษณะของลำโพงที่ใช้เพื่อเปิดเสียงเรียกใน ลำโพง tweeter นี้จะต้องติด condenser ด้วยเพื่อให้เสียงสดใสขึ้น การติดตั้งลำโพงเสียงเรียกใน ให้ติดตั้งกระจายทั่วบริเวณไม้ตีรัง ส่วนจำนวนลำโพงที่ติดตั้งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ แต่มีข้อสังเกตที่แน่ชัดว่า นกแอ่นจะเลือกทำรังใกล้ลำโพงก่อนจุดอื่น ดังนั้นการติดตั้งลำโพงเสียงเรียกในจึงควรติดตั้งให้มากไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

ลำโพงเสียงเรียกนอก

เสียงเรียกนกแอ่นเป็นหัวใจของความสำเร็จในการทำบ้านแอ่น โดยเพาะเสียงเรียกนอก (Swiftlet external chirp) ลำโพงที่ใช้คือ Tweeter (ลำโพงปากเป็ด) จะใช้ยี่ห้ออะไรก็ทดลองฟังเสียงดู ทดสอบดูคุณภาพของเสียง ส่วนใหญ่จะต้องติด Condenser เพื่อเพิ่มความสดใสของเสียง การติดตั้งลำโพงต้องติดตั้งตรงช่องทางเข้า - ออก (In-Out Hole) 2 ตัว ถัดจากช่องทางเข้า - ออก 4 เมตร ติดตั้งลำโพงเสียงเรียกนอกอีก 1 ตัว และทุก ๆ 4 เมตรถัดไปติดตั้งลำโพงเสียงเรียกนอกอีก 1 ตัว จนถึงภายในสุดของบ้านนกแอ่น ที่ติดตั้งลำโพงลักษณะนี้ก็เพื่อให้เสียงเรียกนอกนำนกแอ่นบินตามเสียงเข้าสู่ภายในสุดของบ้านนกแอ่นใหม่เพื่อสำรวจและเข้าอยู่อาศัย เสียงเรียกนอกสำคัญสุด ๆ การเลือกลำโพงจึงต้องให้ความสำคัญด้วย

เครื่องเสียงสำหรับบ้านนกแอ่น

การทำบ้านนกแอ่นเสียงเรียกนกแอ่นทั้งเสียงเรียกนอก(Swiftlet External Chirp) และ เสียงเรียกใน(Swiftlet Internal Chirp) เป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ เมื่อสร้างบ้านนกแอ่นหรือดัดแปลงอาคารบ้านเรือนเป็นบ้านนกแอ่นเสร็จเรียบร้อย จึงจำเป็นต้องมีเสียงเรียกนกแอ่นเพื่อดึงดูดให้นกแอ่นเข้ามาสำรวจและเข้าอยู่อาศัย เครื่องเสียงจึงเข้ามามีบทบาทในการทำหน้าที่เปิดเสียงเรียกนกแอ่น เครื่องเสียงมีหลากหลายจะเลือกซื้ออย่างไรจึงประหยัดได้คุณภาพ และ ทนทาน
เครื่องเสียงประกอบด้วยเครื่องแอมป์(Amplifier) และเครื่องเล่นCD หรือ DVD อ่าน Multimedia Card ได้หรือเลือกเครื่องเสียงแบบตัวแอมป์แล้วมีช่องเสียบ USB / SD CARD ได้ เครื่องแอมป์(Amplifier) ควรเลือกซื้อตัวที่ Watts สูงๆเพราะต้องใช้ขับลำโพง Tweeter จำนวนมาก เลือกซื้อเครื่องที่ใช้งานหนักได้ ซื้อเครื่องที่ผลิตในเมืองไทยดีที่สุด ไม่แพง อะไหล่หาง่าย ส่วนเครื่องเสียงควรเลือกซื้อรุ่นใหม่ๆที่มีช่องเสียบ USB (USB Port) การเปิดเสียงเรียกนกแอ่นด้วยแผ่น CD นั้น เครื่องจะร้อนง่ายเพราะต้องใช้จานหมุนแผ่น และต้องใช้สายพาน สายพานเสื่อมเร็ว ทำให้เสียงที่ออกไม่เสถียร สู้อ่านจาก SD Card หรือ Thumb Drive รุ่นใหม่ๆไม่ได้ ท่านลองตรวจสอบราคาดูและคุยกับเจ้าของร้านที่สนิทสนม หรือสอบถามจากเพื่อนๆที่มีความรู้เรื่องเครื่องเสียง
การใช้งานเครื่องเสียงควรแยกเป็น 3 ชุด เสียงเรียกนอก 1 ชุด เสียงเรียกใน 1 ชุด เสียงนำอีก 1 ชุด และเนื่องจากบ้านนกแอ่นจะเปิดเสียงเรียกนอกและเสียงนำตั้งแต่เช้า 6:00 น. จนถึงค่ำ 20:00 น. ส่วนเสียงเรียกในจะเปิดตลอด 24 ชั่งโมง เครื่องเสียงจึงทำงานหนักมาก คำแนะนำคือ ควรมีเครื่องเสียง 2 ชุด ใช้สลับกันเครื่องละ 2 ชั่วโมง (โดยเฉพาะเสียงเรียกใน)โดยใช้ Digital Timer เป็นตัวเปิด-ปิด
นกแอ่นเป็นนกที่หูดีมาก ดังนั้นท่านจึงต้องให้เกียรติกับหูนกแอ่นด้วย นกแอ่น 1 คู่ มีมูลค่ามากสำหรับท่าน ให้ผลผลิตรังนกแอ่นกับท่านตลอดเวลาที่อยู่ในบ้านนกแอ่นของท่าน ใช้เครื่องเสียงที่ไม่รื่นหูเลย ไม่ดูถูกน้ำใจกันไปหน่อยหรือ ประหยัดอย่างไรก็ต้องให้เสียงออกมาเยี่ยม ขอให้ทุกท่านโชคดีในการเลือกซื้อเครื่องเสียง

เสียงเรียกนกแอ่นหัวใจของความสำเร็จ (Swiftlet Chirp)

การทำบ้านนกแอ่นใหม่นั้นเสียงเรียกนกแอ่นคือหัวใจของความสำเร็จ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้ายุทธจักรในเรื่องเสียงเรียกนกแอ่น มีทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเรียกนกแอ่นที่บันทึกจากถ้ำนกแอ่นหลายๆแห่ง เสียงนกแอ่นใต้สะพานชื่อดังของอินโดนีเซียที่มีนกแอ่นอาศัยอยู่เป็นแสนๆ เสียงเรียกในบ้านนกแอ่นที่ประสบความสำเร็จสูงสุด เสียงนกแอ่นเรียกคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เสียงลูกนกแอ่น ฯลฯเสียงเรียกนกแอ่นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เสียงเรียกนอก (Swiftlet external chirp) และ เสียงเรียกใน (Swiftlet internal chirp) เสียงเรียกนอกใช้สำหรับเรียกนกแอ่นให้เข้าชมและสำรวจบ้านนกแอ่นใหม่ว่าน่าอยู่หรือไม่ ทางเข้า-ออกสะดวก ที่เกาะพักและทำรังมากเพียงพอที่จะสร้างกลุ่มใหม่
(New colony) อุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม ปราศจากศัตรูของนกแอ่นทั้งปวง ส่วนเสียงเรียกในใช้สำหรับกล่อมและเชิญชวนให้นกแอ่นพักอาศัย มีเสียงนกแอ่นจู๋จี๋และเสียงลูกนกแอ่นเป็นหลัก
เสียงเรียกนกแอ่นส่วนใหญ่จะอัดลงแผ่น CD ความจุเต็มแผ่นประมาณ 700 MB เล่นได้ประมาณ 1 ชั่วโมง ขายแผ่นละประมาณ 500-2,500 บาท ปัจจุบันมีบันทึกลง Memory drive ชนิดต่างๆเพื่อให้เล่นได้นานหลายชั่วโมงตามที่ต้องการ และขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องเสียงที่เลือกใช้ ในประเทศไทยหาซื้อยาก มีชนิดเสียงให้เลือกน้อยและราคาแพง สั่งซื้อทางWebจากประเอินโดนีเซียหรือมาเลเซียจะถูกกว่า แต่ถ้าให้ง่ายโทรศัพท์มาคุยกับผมดีที่สุด

ช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่น

ช่องทางเข้า-ออก (Entrance hole or In-out hole) ช่องทางเข้า-ออกควรมีขนาด 80x40เซนติเมตร สำหรับบ้านนกแอ่นใหม่ เพื่อให้นกแอ่นบินเข้า-ออกได้สะดวก และควรมีช่องทางเข้า-ออกเพียงช่องเดียว เพราะยิ่งมากช่อง แสงก็จะเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่นมากขึ้น ที่ปากทางเข้า-ออกจะเป็นที่ติดตั้งลำโพงเสียงเรียกนอก (Swiftlet external chirp) เสียงเรียกนอกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการดึงดูดให้นกแอ่นเข้าสู่บ้านนกแอ่นใหม่
การกำหนดช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นหากยึดตามหลักของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ก็จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นอยู่ทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก เพราะแสงอาทิตย์จะส่องเข้าสู่บ้านนกแอ่นได้ รูปแบบของช่องทางเข้า-ออก จึงควรอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ แต่นี่ก็ไม่ใช่กฎเกณฑ์ข้อบังคับหากทิศเหนือและทิศใต้มีสิ่งกีดขวางทางเข้า-ออก เช่น มีตึกสูงบังอยู่ ด้านที่เป็นช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นควรมีพื้นที่ว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้นกแอ่นสามารถบินเล่นได้
วิธีแก้ไขสำหรับบ้านนกแอ่นคือ การต่อเติมอาคารขึ้นไปบนพื้นชั้นบนสุดของอาคารเพื่อทำเป็นช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่น เรียกว่าช่องทางเข้า-ออกแบบ "กรงสุนัข" ช่องทางเข้า-ออกแบบนี้จะลดปริมาณแสงสว่างที่จะเข้าสู่บ้านนกแอ่นได้มากกว่าแบบหน้าต่าง และได้พื้นที่ตีไม้รังเพิ่มขึ้น แต่เวลานกแอ่นบินเข้าจะต้องบินมุดลงช่องทางเข้าบนพื้นอีกทีหนึ่ง ถามว่าแบบไหนดีที่สุดสำหรับบ้านนกแอ่น อันนี้ตอบยากครับ เพราะทั้ง 2 แบบต่างก็มีตัวอย่างของบ้านนกแอ่นที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับรูปทรงของอาคารที่จะดัดแปลงเป็นบ้านนกแอ่น หากเป็นบ้านนกแอ่นที่ออกแบบเพื่อสร้างขึ้นมาใหม่จะง่ายต่อการกำหนดช่องทางเข้า-ออก
ขนาดของช่องทางเข้า-ออกสำหรับบ้านนกแอ่นใหม่ควรมีขนาดที่เหมาะสมเพื่อให้ง่ายต่อการบินเข้า-ออก ขนาดที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านและหนังสือหลายเล่มแนะนำคือ 80 x 40 เซนติเมตร แต่ที่ต้องจำไว้คือ ช่องทางเข้า-ออกยิ่งใหญ่แสงสว่างยิ่งเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่นยิ่งมาก อุณหภูมิและความชื้นก็จะคุมยากขึ้น
ช่องทางเข้า-ออกควรจะอยู่ซ้าย ขวา หรือ ตรงกลาง ควรอยู่สูงขนาดไหน พื้นที่วงบินของนกแอ่นจะเป็นตัวกำหนดว่าช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นควรจะอยู่ซ้าย ขวา หรือ ตรงกลาง วงบินของนกแอ่นจะกว้างประมาณ 6 - 8 ฟุต ถ้าบ้านนกแอ่นของท่านกว้างประมาณ 4 - 5 เมตร ช่องทางเข้า-ออกไม่ควรอยู่ตรงกลาง ควรอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวา ขอบของช่องทางเข้า-ออกด้านที่ใกล้ผนังด้านในควรห่าง 50 เซนติเมตร โดยปกติเมื่อนกแอ่นบินอยู่ในบ้านนกแอ่นจะบินห่างผนังประมาณ 50 เซนติเมตร ดังนั้นเมื่อช่องทางเข้า-ออกอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวา โดยที่ขอบของช่องทางเข้า-ออกด้านที่ใกล้ผนังด้านในห่าง 50 เซนติเมตร จึงทำให้นกแอ่นบินเข้าสู่บ้านนกแอ่นได้สะดวก และสามารถทำวงบินได้เป็นธรรมชาติ ทำให้นกแอ่นรู้สึกสบาย ส่วนความสูงของช่องทางเข้า-ออก ขอบด้านบนของช่องทางเข้า-ออก ควรอยู่ที่ระดับห่างจากไม้ตีรัง 50 เซนติเมตร
หากท่านอ่านแล้วยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนไม่เข้าใจ ลองร่างแบบบ้านที่ท่านจะดัดแปลงทำเป็นบ้านนกแอ่น สแกนแบบบ้านแล้วเมล์มาให้ผมดู ผมจะกำหนดช่องทางเข้า-ออกให้พร้อมอธิบายเหตุผลว่าทำไมจึงต้องอยู่ตรงจุดนั้นๆ



เครื่องทำความชื้น (Humidifier)

ในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องทำความชื้น (Humidifier) มีหลายแบบ หลายยี้ห้อให้เลือกใช้ มีข้อดีคือใช้ง่าย กินพื้นที่น้อย เพียงต่อท่อน้ำเข้าสู่ตัวเครื่องแล้วเสียบปลั๊กเครื่องก็จะทำงานพ่นละอองหมอกออกมา ละอองหมอกจะผสมกับอากาศที่ร้อนทำให้ลดอุณหภูมิของบ้านนกแอ่นลงได้ และเพิ่มความชื้น การใช้เครื่องทำความชื้นทำให้พื้นในบ้านนกแอ่นไม่เปียกแฉะ เมื่อขี้นกแอ่นหล่นบนพื้นจึงค่อยๆแห้ง ไม่เหม็นมาก เก็บกวาดง่ายอุณหภูมิและความชื้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง นกแอ่นจะรู้สึกสบายช่วยให้ตัดสินใจเข้าอยู่อาศัยได้เร็วขึ้น อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมช่วยให้นกแอ่นขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น ได้จำนวนรังนกแอ่นเพิ่มขึ้นจำให้ขึ้นใจไว้ "อุณหภูมิ 28 องศาฯ ความชื้น 85%"

เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น


เป็นที่ทราบกันดีว่าอุณหภูมิและความชื้นเป็นหัวใจสำคัญของการทำบ้านนกแอ่น นกแอ่นชื่นชอบอุณหภูมิ 28 องศาเซนเซียส ความชื้น 85% วิธีที่จะรู้ว่าอุณหภูมิและความชื้นในบ้านนกแอ่นอยู่ที่ระดับเท่าไรคือการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้นมีหลายชนิด เลือกซื้อให้เหมาะกับการใช้งาน เป็นเครื่องมือที่ต้องมีเป็นอย่างยิ่ง ทำบ้านนกแอ่นนั้นไม่ยาก ที่ยากคือการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้ได้ตามความชื่นชอบของนกแอ่น

การเพิ่มความชื้นในบ้านนกแอ่น

ความชื้นเป็นสิ่งสำคัญในความสำเร็จของบ้านนกแอ่น นกแอ่นชื่นชอบความชื้น 85% น้ำเป็นตัวช่วยในเรื่องความชื้น การทำรางน้ำรอบๆกำแพงด้านในเป็นการเพิ่มความชื้นได้ระดับหนึ่ง สามารถใช้เครื่องมือวัดความชื้นวัดดูได้ ถ้าความชื้นยังไม่ถึง 85% ก็ใช้เครื่องทำความชื้น(Humidifier)ช่วยเพิ่มความชื้นหรือการทำสระน้ำพร้อมน้ำพุก็ได้ การทำรางน้ำควรใช้วิธีการผูกเหล็กเทปูนหล่อ ใส่กันซึมให้เต็มสูตรเพื่อกันซึม ฉาบผิวและขัดมันด้านในของรางน้ำด้วย มีช่องระบายน้ำออกพร้อมวาล์วเปิด-ปิดเพื่อทำความสะอาดรางน้ำ และติดตั้งก๊อกน้ำสำหรับเติมน้ำในรางน้ำ

การตีไม้รังแบบกล่องและตีไม้ปิดมุมกล่อง

การตีไม้รังแบบกล่องและตีไม้ปิดมุมกล่อง ขนาดของกล่องกว้าง 35-40 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร ไม้ตีปิดมุม 15 เซนติเมตร การตีไม้รังแบบนี้จะได้พื้นที่เกาะและทำรังมาก การที่ตีไม้ปิดมุมกล่องด้วยจะช่วยให้ได้รังนกแอ่นที่มีรูปทรงสวย ราคาดี ถ้าไม่ตีไม้ปิดมุมกล่อง มุมจะเป็น 90 องศา รังนกแอ่นจะไม่สวยราคาไม่ดี และนกแอ่นจะชอบทำรังที่มุมมาก เพราะทำรังง่าย โปรดจำไว้ว่าการที่เราทำบ้านนกแอ่นใหม่ นกแอ่นที่เราสามารถเรียกให้เข้ามาอยู่ได้จะเป็นลูกนกแอ่นที่เพิ่งโตและเพิ่งจับคู่เป็นครั้งแรกจะยังไม่เก่งในการทำรัง จะเลือกทำรังที่มุมเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้เราจะตีไม้ปิดมุมกล่องแล้วก็ตาม คู่นกแอ่นก็ยังจะเลือกที่มุมอยู่เหมือนเดิม ข้อเสียของการตีไม้รังแบบกล่องคือใช้ไม้มากเพิ่มงบประมาณ

การตีไม้รังแบบแถว

การตีไม้รังแบบแถว การตีไม้รังแบบแถวนั้นทำได้ง่ายและรวดเร็ว มีมุมน้อย จะมีไม้ซอยบ้างก็เพื่อยึดจับให้ไม้แถวแข็งแรงมั่นคงขึ้น บ้านนกแอ่นใหม่ที่มีเนื้อที่มากหรือหลังใหญ่ๆต้องใช้ไม้จำนวนมากมักจะเลือกตีไม้รังแบบแถว แต่ละแถวห่างกัน 35-40 เซนติเมตร ถ้านกแอ่นยอมรับและทำรังบนไม้ตีรังแบบแถว จะได้รังนกแอ่นที่มีรูปครึ่งถ้วยสวยงามราคาดี