วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

ช่องทางเข้า-ออกแบบบล็อกแสง

ความมืดในบ้านนกแอ่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตัดสินใจเข้าอาศัยของนกแอ่นมากเพราะนกแอ่นจารู้สึกว่าปลอดภัยในความมืด ช่องทางเข้า-ออกจึงเป็นส่วนที่แสงสว่างเข้าถึงบ้านนกแอ่นยิ่งช่องใหญ่เท่าไหรแสงสว่างก็มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นบ้านนกแอ่นใหม่จึงต้องมีการบล็อกแสงช่องทางเข้า-ออกเพื่อที่ให้นกแอ่นตัดสินใจเข้าอยู่อาศัยเร็วขึ้น ในรูปนี้เป็นตัวอย่างในการบล็อกแสงบ้านนกแอ่นหรืออาจตีกล่องที่ช่องทางเข้าก็ได้

ความมืดในบ้านนกแอ่น

การปรับกลิ่นในบ้านนกแอ่นใหม่

การทำบ้านนกแอ่นใหม่มีหลายปัจจัยที่ท่านต้องพยายามทำให้ได้ตามเงื่อนไข หากท่านนึกถึงสภาพภายในถ้ำนกแอ่นหรือบ้านนกแอ่นที่สำเร็จสูงสุด สิ่งแรกที่ท่านสัมผัสได้คือกลิ่นขี้นกแอ่น ความรู้สึกของท่านคือเหม็น สำหรับนกแอ่นกลิ่นขี้นกแอ่นคือกลิ่นของความคุ้นเคย คือกลิ่นของถิ่นที่อยู่อาศัย ลูกนกแอ่นฟักออกจากเปลือกไข่วันแรก ตายังปิดมองอะไรไม่เห็น แต่จมูกจะสามารถสัมผัสได้กับกลิ่น และกลิ่นแรกที่ลูกนกแอ่นสัมผัสได้คือกลิ่นขี้นกแอ่นภายในถิ่นที่อยู่อาศัย จะสัมผัสกับกลิ่นนี้ไปตลอดจนกว่าจะโตและบินได้ เมื่อบินออกสู่โลกภายนอกจึงจะสัมผัสกลิ่นอื่นๆการทำบ้านนกแอ่นใหม่ หากท่านสามารถหาขี้นกแอ่นมาโรยหรือผสมน้ำสาดฝาผนัง ตามพื้นให้ทั่วภายในบ้านนกแอ่น จะเป็นการช่วยกลบกลิ่นของปูน กลิ่นไม้ กลิ่นสี กลิ่นเชื่อมโลหะ ฯลฯ สร้างกลิ่นที่นกแอ่นคุ้นเคยที่สุดให้กับบ้านนกแอ่นใหม่ ทำให้นกแอ่นตัดสินใจเข้าอยู่อาศัยได้เร็วขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

เคล็ดลับในบ้านนกแอ่นใหม่

1.เสียงเรียกนกแอ่น ต้องเลือกเสียงนกแอ่นที่ดีมีคุณภาพ
2.ลำโพงในบ้าน(ลำโพงทวิสเตอร์)ติดให้มากเท่าไหรยิ่งดี
3.ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้ได้
4.ใช้ขี้นกแอ่นโรยในบ้านหรือผสมน้ำสาดที่ผนัง
5.ไม้ตีรังเหมาะสม แข็งกลาง มีใย ไม่มีกลิ่น เซาะร่องเรียบร้อย
6.ไม่มีศัตรูรบกวนภายในบ้านนกแอ่น
7.
8.
9.
10.
ขอให้ทุกท่านโชคดีมีบ้านนกแอ่นที่ที่มีนกอาศัยอยู่มากมากและรังนกเยอะๆๆๆๆๆ

การระบายอากาศในบ้านนกแอ่น(Ventilation System)

อากาศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสัตว์โลกทุกชนิด การทำบ้านนกแอ่นเพื่อให้นกแอ่นเข้าอยู่อาศัย ต้องคำนึงถึงระบบระบายอากาศเป็นอย่างยิ่ง การปิดช่องทุกช่องที่แสงสว่างสามารถเข้าได้ เพื่อให้บ้านนกแอ่นมีความมืดเสมือนในถ้ำ ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่นได้มากนัก ทำให้รู้สึกอึดอัด การทำระบบระบายอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นทำบ้านนกแอ่นการทำระบบระบายอากาศในบ้านนกแอ่นส่วนใหญ่จะใช้ท่อ PVC ขนาด 4 นิ้ว และใช้ข้องอ 4 นิ้ว ประกอบเป็นรูปตัว L ดังภาพข้างบน ผังในกำแพงรอบๆบ้านนกแอ่น มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระแสลมธรรมชาติรอบๆบ้านนกแอ่นที่ตั้งอยู่ จะทำแบบ 1 แถว หรือ 2 แถว ก็ให้พิจารณาดู ถ้าทำช่องระบายน้อยเกินไปจะเพิ่มทีหลังย่อมยุ่งยาก แต่ถ้าช่องมากเกินไปทำให้ความชื้นในบ้านนกแอ่นลดลง เราสามารถใช้กระดาษอุดในท่อหรือใช้ฝาปิดท่อได้ ด้านในของท่อระบายอากาศที่อยู่ในบ้านนกแอ่น ให้ติดตาข่ายกันแมลงสาป ตุ๊กแก และสัตว์รบกวนอื่นๆระบบระบายอากาศแบบนี้เป็นเพียงตัวอย่างให้ท่านได้เห็นภาพภายในบ้านนกแอ่น ไม่ใช่สูตรสำเร็จ ท่านสามารถใช้วิธีอื่นใดก็ได้ที่ทำให้อากาศระบายได้และประหยัดงบประมาณของท่าน

ลำโพงเสียงเรียกใน

เมื่อนกแอ่นถูกเรียกด้วยเสียงเรียกนอกเพื่อนำเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่นแล้ว หน้าที่ต่อไปจึงเป็นบทบาทของเสียงเรียกใน (Internal swiftlet chirp) เสียงเรียกในเป็นเสียงที่เปิดเพียงพอได้ยิน ให้นกแอ่นได้ยินเสียงเหมือนมีเพื่อนนกแอ่นอื่น ๆ อีกมากมายอาศัยอยู่
ลำโพง Tweeter ขนาดเล็ก เป็นลักษณะของลำโพงที่ใช้เพื่อเปิดเสียงเรียกใน ลำโพง tweeter นี้จะต้องติด condenser ด้วยเพื่อให้เสียงสดใสขึ้น การติดตั้งลำโพงเสียงเรียกใน ให้ติดตั้งกระจายทั่วบริเวณไม้ตีรัง ส่วนจำนวนลำโพงที่ติดตั้งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ แต่มีข้อสังเกตที่แน่ชัดว่า นกแอ่นจะเลือกทำรังใกล้ลำโพงก่อนจุดอื่น ดังนั้นการติดตั้งลำโพงเสียงเรียกในจึงควรติดตั้งให้มากไว้ก่อนเป็นดีที่สุด

ลำโพงเสียงเรียกนอก

เสียงเรียกนกแอ่นเป็นหัวใจของความสำเร็จในการทำบ้านแอ่น โดยเพาะเสียงเรียกนอก (Swiftlet external chirp) ลำโพงที่ใช้คือ Tweeter (ลำโพงปากเป็ด) จะใช้ยี่ห้ออะไรก็ทดลองฟังเสียงดู ทดสอบดูคุณภาพของเสียง ส่วนใหญ่จะต้องติด Condenser เพื่อเพิ่มความสดใสของเสียง การติดตั้งลำโพงต้องติดตั้งตรงช่องทางเข้า - ออก (In-Out Hole) 2 ตัว ถัดจากช่องทางเข้า - ออก 4 เมตร ติดตั้งลำโพงเสียงเรียกนอกอีก 1 ตัว และทุก ๆ 4 เมตรถัดไปติดตั้งลำโพงเสียงเรียกนอกอีก 1 ตัว จนถึงภายในสุดของบ้านนกแอ่น ที่ติดตั้งลำโพงลักษณะนี้ก็เพื่อให้เสียงเรียกนอกนำนกแอ่นบินตามเสียงเข้าสู่ภายในสุดของบ้านนกแอ่นใหม่เพื่อสำรวจและเข้าอยู่อาศัย เสียงเรียกนอกสำคัญสุด ๆ การเลือกลำโพงจึงต้องให้ความสำคัญด้วย

เครื่องเสียงสำหรับบ้านนกแอ่น

การทำบ้านนกแอ่นเสียงเรียกนกแอ่นทั้งเสียงเรียกนอก(Swiftlet External Chirp) และ เสียงเรียกใน(Swiftlet Internal Chirp) เป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จ เมื่อสร้างบ้านนกแอ่นหรือดัดแปลงอาคารบ้านเรือนเป็นบ้านนกแอ่นเสร็จเรียบร้อย จึงจำเป็นต้องมีเสียงเรียกนกแอ่นเพื่อดึงดูดให้นกแอ่นเข้ามาสำรวจและเข้าอยู่อาศัย เครื่องเสียงจึงเข้ามามีบทบาทในการทำหน้าที่เปิดเสียงเรียกนกแอ่น เครื่องเสียงมีหลากหลายจะเลือกซื้ออย่างไรจึงประหยัดได้คุณภาพ และ ทนทาน
เครื่องเสียงประกอบด้วยเครื่องแอมป์(Amplifier) และเครื่องเล่นCD หรือ DVD อ่าน Multimedia Card ได้หรือเลือกเครื่องเสียงแบบตัวแอมป์แล้วมีช่องเสียบ USB / SD CARD ได้ เครื่องแอมป์(Amplifier) ควรเลือกซื้อตัวที่ Watts สูงๆเพราะต้องใช้ขับลำโพง Tweeter จำนวนมาก เลือกซื้อเครื่องที่ใช้งานหนักได้ ซื้อเครื่องที่ผลิตในเมืองไทยดีที่สุด ไม่แพง อะไหล่หาง่าย ส่วนเครื่องเสียงควรเลือกซื้อรุ่นใหม่ๆที่มีช่องเสียบ USB (USB Port) การเปิดเสียงเรียกนกแอ่นด้วยแผ่น CD นั้น เครื่องจะร้อนง่ายเพราะต้องใช้จานหมุนแผ่น และต้องใช้สายพาน สายพานเสื่อมเร็ว ทำให้เสียงที่ออกไม่เสถียร สู้อ่านจาก SD Card หรือ Thumb Drive รุ่นใหม่ๆไม่ได้ ท่านลองตรวจสอบราคาดูและคุยกับเจ้าของร้านที่สนิทสนม หรือสอบถามจากเพื่อนๆที่มีความรู้เรื่องเครื่องเสียง
การใช้งานเครื่องเสียงควรแยกเป็น 3 ชุด เสียงเรียกนอก 1 ชุด เสียงเรียกใน 1 ชุด เสียงนำอีก 1 ชุด และเนื่องจากบ้านนกแอ่นจะเปิดเสียงเรียกนอกและเสียงนำตั้งแต่เช้า 6:00 น. จนถึงค่ำ 20:00 น. ส่วนเสียงเรียกในจะเปิดตลอด 24 ชั่งโมง เครื่องเสียงจึงทำงานหนักมาก คำแนะนำคือ ควรมีเครื่องเสียง 2 ชุด ใช้สลับกันเครื่องละ 2 ชั่วโมง (โดยเฉพาะเสียงเรียกใน)โดยใช้ Digital Timer เป็นตัวเปิด-ปิด
นกแอ่นเป็นนกที่หูดีมาก ดังนั้นท่านจึงต้องให้เกียรติกับหูนกแอ่นด้วย นกแอ่น 1 คู่ มีมูลค่ามากสำหรับท่าน ให้ผลผลิตรังนกแอ่นกับท่านตลอดเวลาที่อยู่ในบ้านนกแอ่นของท่าน ใช้เครื่องเสียงที่ไม่รื่นหูเลย ไม่ดูถูกน้ำใจกันไปหน่อยหรือ ประหยัดอย่างไรก็ต้องให้เสียงออกมาเยี่ยม ขอให้ทุกท่านโชคดีในการเลือกซื้อเครื่องเสียง

เสียงเรียกนกแอ่นหัวใจของความสำเร็จ (Swiftlet Chirp)

การทำบ้านนกแอ่นใหม่นั้นเสียงเรียกนกแอ่นคือหัวใจของความสำเร็จ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้ายุทธจักรในเรื่องเสียงเรียกนกแอ่น มีทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเรียกนกแอ่นที่บันทึกจากถ้ำนกแอ่นหลายๆแห่ง เสียงนกแอ่นใต้สะพานชื่อดังของอินโดนีเซียที่มีนกแอ่นอาศัยอยู่เป็นแสนๆ เสียงเรียกในบ้านนกแอ่นที่ประสบความสำเร็จสูงสุด เสียงนกแอ่นเรียกคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เสียงลูกนกแอ่น ฯลฯเสียงเรียกนกแอ่นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เสียงเรียกนอก (Swiftlet external chirp) และ เสียงเรียกใน (Swiftlet internal chirp) เสียงเรียกนอกใช้สำหรับเรียกนกแอ่นให้เข้าชมและสำรวจบ้านนกแอ่นใหม่ว่าน่าอยู่หรือไม่ ทางเข้า-ออกสะดวก ที่เกาะพักและทำรังมากเพียงพอที่จะสร้างกลุ่มใหม่
(New colony) อุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม ปราศจากศัตรูของนกแอ่นทั้งปวง ส่วนเสียงเรียกในใช้สำหรับกล่อมและเชิญชวนให้นกแอ่นพักอาศัย มีเสียงนกแอ่นจู๋จี๋และเสียงลูกนกแอ่นเป็นหลัก
เสียงเรียกนกแอ่นส่วนใหญ่จะอัดลงแผ่น CD ความจุเต็มแผ่นประมาณ 700 MB เล่นได้ประมาณ 1 ชั่วโมง ขายแผ่นละประมาณ 500-2,500 บาท ปัจจุบันมีบันทึกลง Memory drive ชนิดต่างๆเพื่อให้เล่นได้นานหลายชั่วโมงตามที่ต้องการ และขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องเสียงที่เลือกใช้ ในประเทศไทยหาซื้อยาก มีชนิดเสียงให้เลือกน้อยและราคาแพง สั่งซื้อทางWebจากประเอินโดนีเซียหรือมาเลเซียจะถูกกว่า แต่ถ้าให้ง่ายโทรศัพท์มาคุยกับผมดีที่สุด

ช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่น

ช่องทางเข้า-ออก (Entrance hole or In-out hole) ช่องทางเข้า-ออกควรมีขนาด 80x40เซนติเมตร สำหรับบ้านนกแอ่นใหม่ เพื่อให้นกแอ่นบินเข้า-ออกได้สะดวก และควรมีช่องทางเข้า-ออกเพียงช่องเดียว เพราะยิ่งมากช่อง แสงก็จะเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่นมากขึ้น ที่ปากทางเข้า-ออกจะเป็นที่ติดตั้งลำโพงเสียงเรียกนอก (Swiftlet external chirp) เสียงเรียกนอกเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการดึงดูดให้นกแอ่นเข้าสู่บ้านนกแอ่นใหม่
การกำหนดช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นหากยึดตามหลักของการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ก็จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นอยู่ทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก เพราะแสงอาทิตย์จะส่องเข้าสู่บ้านนกแอ่นได้ รูปแบบของช่องทางเข้า-ออก จึงควรอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ แต่นี่ก็ไม่ใช่กฎเกณฑ์ข้อบังคับหากทิศเหนือและทิศใต้มีสิ่งกีดขวางทางเข้า-ออก เช่น มีตึกสูงบังอยู่ ด้านที่เป็นช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นควรมีพื้นที่ว่าง ไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้นกแอ่นสามารถบินเล่นได้
วิธีแก้ไขสำหรับบ้านนกแอ่นคือ การต่อเติมอาคารขึ้นไปบนพื้นชั้นบนสุดของอาคารเพื่อทำเป็นช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่น เรียกว่าช่องทางเข้า-ออกแบบ "กรงสุนัข" ช่องทางเข้า-ออกแบบนี้จะลดปริมาณแสงสว่างที่จะเข้าสู่บ้านนกแอ่นได้มากกว่าแบบหน้าต่าง และได้พื้นที่ตีไม้รังเพิ่มขึ้น แต่เวลานกแอ่นบินเข้าจะต้องบินมุดลงช่องทางเข้าบนพื้นอีกทีหนึ่ง ถามว่าแบบไหนดีที่สุดสำหรับบ้านนกแอ่น อันนี้ตอบยากครับ เพราะทั้ง 2 แบบต่างก็มีตัวอย่างของบ้านนกแอ่นที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับรูปทรงของอาคารที่จะดัดแปลงเป็นบ้านนกแอ่น หากเป็นบ้านนกแอ่นที่ออกแบบเพื่อสร้างขึ้นมาใหม่จะง่ายต่อการกำหนดช่องทางเข้า-ออก
ขนาดของช่องทางเข้า-ออกสำหรับบ้านนกแอ่นใหม่ควรมีขนาดที่เหมาะสมเพื่อให้ง่ายต่อการบินเข้า-ออก ขนาดที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านและหนังสือหลายเล่มแนะนำคือ 80 x 40 เซนติเมตร แต่ที่ต้องจำไว้คือ ช่องทางเข้า-ออกยิ่งใหญ่แสงสว่างยิ่งเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่นยิ่งมาก อุณหภูมิและความชื้นก็จะคุมยากขึ้น
ช่องทางเข้า-ออกควรจะอยู่ซ้าย ขวา หรือ ตรงกลาง ควรอยู่สูงขนาดไหน พื้นที่วงบินของนกแอ่นจะเป็นตัวกำหนดว่าช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่นควรจะอยู่ซ้าย ขวา หรือ ตรงกลาง วงบินของนกแอ่นจะกว้างประมาณ 6 - 8 ฟุต ถ้าบ้านนกแอ่นของท่านกว้างประมาณ 4 - 5 เมตร ช่องทางเข้า-ออกไม่ควรอยู่ตรงกลาง ควรอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวา ขอบของช่องทางเข้า-ออกด้านที่ใกล้ผนังด้านในควรห่าง 50 เซนติเมตร โดยปกติเมื่อนกแอ่นบินอยู่ในบ้านนกแอ่นจะบินห่างผนังประมาณ 50 เซนติเมตร ดังนั้นเมื่อช่องทางเข้า-ออกอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวา โดยที่ขอบของช่องทางเข้า-ออกด้านที่ใกล้ผนังด้านในห่าง 50 เซนติเมตร จึงทำให้นกแอ่นบินเข้าสู่บ้านนกแอ่นได้สะดวก และสามารถทำวงบินได้เป็นธรรมชาติ ทำให้นกแอ่นรู้สึกสบาย ส่วนความสูงของช่องทางเข้า-ออก ขอบด้านบนของช่องทางเข้า-ออก ควรอยู่ที่ระดับห่างจากไม้ตีรัง 50 เซนติเมตร
หากท่านอ่านแล้วยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนไม่เข้าใจ ลองร่างแบบบ้านที่ท่านจะดัดแปลงทำเป็นบ้านนกแอ่น สแกนแบบบ้านแล้วเมล์มาให้ผมดู ผมจะกำหนดช่องทางเข้า-ออกให้พร้อมอธิบายเหตุผลว่าทำไมจึงต้องอยู่ตรงจุดนั้นๆ



เครื่องทำความชื้น (Humidifier)

ในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องทำความชื้น (Humidifier) มีหลายแบบ หลายยี้ห้อให้เลือกใช้ มีข้อดีคือใช้ง่าย กินพื้นที่น้อย เพียงต่อท่อน้ำเข้าสู่ตัวเครื่องแล้วเสียบปลั๊กเครื่องก็จะทำงานพ่นละอองหมอกออกมา ละอองหมอกจะผสมกับอากาศที่ร้อนทำให้ลดอุณหภูมิของบ้านนกแอ่นลงได้ และเพิ่มความชื้น การใช้เครื่องทำความชื้นทำให้พื้นในบ้านนกแอ่นไม่เปียกแฉะ เมื่อขี้นกแอ่นหล่นบนพื้นจึงค่อยๆแห้ง ไม่เหม็นมาก เก็บกวาดง่ายอุณหภูมิและความชื้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง นกแอ่นจะรู้สึกสบายช่วยให้ตัดสินใจเข้าอยู่อาศัยได้เร็วขึ้น อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมช่วยให้นกแอ่นขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น ได้จำนวนรังนกแอ่นเพิ่มขึ้นจำให้ขึ้นใจไว้ "อุณหภูมิ 28 องศาฯ ความชื้น 85%"

เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น


เป็นที่ทราบกันดีว่าอุณหภูมิและความชื้นเป็นหัวใจสำคัญของการทำบ้านนกแอ่น นกแอ่นชื่นชอบอุณหภูมิ 28 องศาเซนเซียส ความชื้น 85% วิธีที่จะรู้ว่าอุณหภูมิและความชื้นในบ้านนกแอ่นอยู่ที่ระดับเท่าไรคือการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้นมีหลายชนิด เลือกซื้อให้เหมาะกับการใช้งาน เป็นเครื่องมือที่ต้องมีเป็นอย่างยิ่ง ทำบ้านนกแอ่นนั้นไม่ยาก ที่ยากคือการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้ได้ตามความชื่นชอบของนกแอ่น

การเพิ่มความชื้นในบ้านนกแอ่น

ความชื้นเป็นสิ่งสำคัญในความสำเร็จของบ้านนกแอ่น นกแอ่นชื่นชอบความชื้น 85% น้ำเป็นตัวช่วยในเรื่องความชื้น การทำรางน้ำรอบๆกำแพงด้านในเป็นการเพิ่มความชื้นได้ระดับหนึ่ง สามารถใช้เครื่องมือวัดความชื้นวัดดูได้ ถ้าความชื้นยังไม่ถึง 85% ก็ใช้เครื่องทำความชื้น(Humidifier)ช่วยเพิ่มความชื้นหรือการทำสระน้ำพร้อมน้ำพุก็ได้ การทำรางน้ำควรใช้วิธีการผูกเหล็กเทปูนหล่อ ใส่กันซึมให้เต็มสูตรเพื่อกันซึม ฉาบผิวและขัดมันด้านในของรางน้ำด้วย มีช่องระบายน้ำออกพร้อมวาล์วเปิด-ปิดเพื่อทำความสะอาดรางน้ำ และติดตั้งก๊อกน้ำสำหรับเติมน้ำในรางน้ำ

การตีไม้รังแบบกล่องและตีไม้ปิดมุมกล่อง

การตีไม้รังแบบกล่องและตีไม้ปิดมุมกล่อง ขนาดของกล่องกว้าง 35-40 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร ไม้ตีปิดมุม 15 เซนติเมตร การตีไม้รังแบบนี้จะได้พื้นที่เกาะและทำรังมาก การที่ตีไม้ปิดมุมกล่องด้วยจะช่วยให้ได้รังนกแอ่นที่มีรูปทรงสวย ราคาดี ถ้าไม่ตีไม้ปิดมุมกล่อง มุมจะเป็น 90 องศา รังนกแอ่นจะไม่สวยราคาไม่ดี และนกแอ่นจะชอบทำรังที่มุมมาก เพราะทำรังง่าย โปรดจำไว้ว่าการที่เราทำบ้านนกแอ่นใหม่ นกแอ่นที่เราสามารถเรียกให้เข้ามาอยู่ได้จะเป็นลูกนกแอ่นที่เพิ่งโตและเพิ่งจับคู่เป็นครั้งแรกจะยังไม่เก่งในการทำรัง จะเลือกทำรังที่มุมเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้เราจะตีไม้ปิดมุมกล่องแล้วก็ตาม คู่นกแอ่นก็ยังจะเลือกที่มุมอยู่เหมือนเดิม ข้อเสียของการตีไม้รังแบบกล่องคือใช้ไม้มากเพิ่มงบประมาณ

การตีไม้รังแบบแถว

การตีไม้รังแบบแถว การตีไม้รังแบบแถวนั้นทำได้ง่ายและรวดเร็ว มีมุมน้อย จะมีไม้ซอยบ้างก็เพื่อยึดจับให้ไม้แถวแข็งแรงมั่นคงขึ้น บ้านนกแอ่นใหม่ที่มีเนื้อที่มากหรือหลังใหญ่ๆต้องใช้ไม้จำนวนมากมักจะเลือกตีไม้รังแบบแถว แต่ละแถวห่างกัน 35-40 เซนติเมตร ถ้านกแอ่นยอมรับและทำรังบนไม้ตีรังแบบแถว จะได้รังนกแอ่นที่มีรูปครึ่งถ้วยสวยงามราคาดี

ไม้ตีรังในบ้านนกแอ่น

เป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเลือกชนิดของไม้ตีรัง จากการทดลองใช้ไม้ชนิดต่างๆทั้งในประเทศเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย พบว่านกแอ่นชื่นชอบและพอใจไม้ SWO-2 อินโดนีเซียและมาเลเซียเรียกว่าไม้ "Meranti Wood" ไทยเรียกว่าไม้ "สยาหิน" เป็นไม้แข็งกลาง ไม่มีกลิ่น มีใย น้ำลายนกแอ่นยึดเกาะได้ดี ค่อนข้างหายากในปัจจุบัน เป็นที่ต้องการของผู้ทำบ้านนกแอ่นทั้งหลาย ส่วนไม้ชนิดอื่นๆถ้าเป็นไม้แข็งกลางและไม่มีกลิ่นก็สามารถใช้ได้ขนาดของไม้ตีรังควรเป็นไม้หนา 1 - 1.5 นิ้ว กว้าง 6 - 8 นิ้ว ขนาดความยาวของไม้ขึ้นอยู่กับขนาดอาคารของบ้านนกแอ่น ว่าจะเลือกไม้ยาว 4 เมตร หรือ 6 เมตร จะได้ไม่ต้องตัดไม้ให้เหลือเศษมากนัก เซาะร่องขนาดลึก 2 มิลฯด้านละ 4 - 8 ร่อง ไม้ตีรังต้องสะอาดและแห้งสนิท ปราศจากเชื้อราและฝุ่น การตีไม้รังอาจตีเป็นแถวยาว แต่ละแถวห่างกัน 35 - 40 เซนติเมตร หรือจะตีเป็นกล่องโดยตีไม้ซอยขวางระหว่างแถวไม้ยาวก็ได้ โดยให้ไม้ซอยที่ตีห่างกัน 100 เซนติเมตร ยึดเกาะกับเพดานอย่างแข็งแรงและมั่งคง ไม่ควรให้มีร่องระหว่างไม้กับเพดาน ถ้ามีร่องเพราะไม้โค้งหรือเพดานไม่เรียบให้อุดหรือยาร่องก็ได้ การตีไม้รังให้ตีขวางกับทางเข้าของแสงหรือทางบินของนก

การดัดแปลงอาคารบ้านเรือนให้เป็นบ้านนกแอ่น




เสืออยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ท่านคงจะเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่นกแอ่นกับคนสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข เราสามารถดัดแปลงอาคารบ้านเรือนที่เราอยู่ให้กลายเป็นบ้านนกแอ่นได้ครับ แต่เราต้องทำให้ใกล้เคียงธรรมชาติที่นกแอ่นอาศัยอยู่ให้มากที่สุด การดัดแปลงอาคารบ้านเรือนเรา สามารถดัดแปลงได้ ดังนี้
1. ปิดช่องที่แสงสว่างสามารถเข้าได้ทั้งหมด เช่น ช่องหน้าต่าง ช่องลม ช่องบานเกร็ด ยกเว้นช่องที่จะกำหนดเป็นช่องทางเข้า-ออกของนก และช่องระบายอากาศชนิดที่แสงสว่างเข้าไม่ได้
2. ตีรังไม้สำหรับนกแอ่นเกาะและทำรัง โดยใช้ไม้หนา 1 นิ้ว กว้าง 6 - 8 นิ้ว(ไม้หนา 1 น้ว กว้าง 8 นิ้ว จาดีที่สุด) ยาวตามความกว้างของอาคาร ยึดให้แข็งแรงตั้งฉากกับเพดาน เซาะร่องบนไม้ขนาดเล็กกว้าง 2 มิลฯ ลึก 2 มิลฯ 4 -8 ร่อง ห่างกันร่องละ 1 นิ้ว โดยเริ่มจากด้านล่าง ด้านที่ไม่ติดกับเพดาน รังไม้แต่ละแถวห่างกัน 30-40 เซนติเมตร
3. ติดตั้งรางน้ำขนาดพอเหมาะรอบๆห้องเพื่อปรับอุณหภูมิของห้องให้ได้หรือใกล้เคียง 28 องศาเซนเซียส หรือติดตั้งพัดลมขนาดเล็กเพื่อเป่าน้ำในรางอีกก็ได้หรือทำเป็นระบบน้ำวน (น้ำพุ)
4. ติดตั้งเครื่องทำความชื้น Humidifier เพื่อเพิ่มความชื้นให้ได้ประมาณ 75%-85%
5. ติดตั้งเครื่องเสียงและลำโพงเพื่อทำเสียงเรียกนก ทั้งเสียงเรียกนอกและเสียงเรียกในและเสียงนำ ควรแยกเครื่องเสียงคนละชุดกัน
6. ปรับปรุงผนังอาคารด้านที่โดนความร้อนอย่าให้ความร้อนระบายเข้าสู่ภายในบ้านนกแอ่น โดยใช้ฉนวนกันความร้อนหรือวัสดุต่างๆที่เหมาะสม รวมถึงหลังคาของอาคารด้วย
7. ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายนอกบ้านนกแอ่นให้ดูสวยงามสะอาดตา ไม่ทำลายบรรยากาศของเมืองที่สวยงาม

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

องค์ประกอบสำคัญในการทำบ้านนกแอ่น


การทำบ้านนกแอ่นให้ประสบความสำเร็จนั้น มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1.ทำเลที่ตั้งของบ้านนกแอ่นเหมาะสมทุกอย่าง
2.อุณหภูมิภายในบ้านนกแอ่นเหมาะสม 28 องศาเซลเซียส
3.ความชื้นภายในบ้านนกแอ่นเหมาะสม 85%
4.ความมืด ความสว่าง เหมาะสม 3 ลักซ์
5.เส้นทางบินของนกแอ่น (วงบินนกแอ่น)
6.ไม้ตีรังสำหรับนกแอ่น แข็งกลาง มีใย ไม่มีกลิ่น เซาะร่องเรียบร้อย
7.ปรับกลิ่นในบ้านนกแอ่น ไม้ตีรัง ผนัง และพื้นให้หอมถูกใจนกแอ่น
8. เสียงเรียกนกแอ่น เสียงนอกและเสียงในสมบูรณ์ที่สุด
9.ไม่มีศัตรูรบกวนภายในบ้านนกแอ่น
10.มีสิ่งรบกวนจากภายนอกน้อยที่สุด
ขอให้ท่านโชคดีทำองค์ประกอบได้ถูกต้องตรงใจนกแอ่น ท่านทำบ้านให้นกแอ่นอยู่สบาย นกแอ่นก็จะให้บ้านสวยๆรถสวยๆแก่ท่านเช่นกัน

การทำบ้านนกแอ่น

ในภาษาอังกฤษได้เรียกบ้านนกแอ่นว่า "Swiftlet Farming" หรือ "Swiftlet House" แต่ใน Blog Site แห่งนี้จะเรียกว่า "บ้านนกแอ่น" เพื่อให้เข้าใจว่า คือการทำบ้านนกแอ่นเพื่อเลี้ยงนกแอ่นนั่นเองการที่ท่านจะทำบ้านนกแอ่นโดยที่ท่านไม่มีความรู้เลยนั้นเป็นเรื่องยาก มองภาพไม่ออก นึกไม่ออกว่าสภาพภายในบ้านนกแอ่นเป็นอย่างไร มืดๆ ชื้นๆ เย็นๆ ฯลฯ ดังนั้นท่านจึงควรที่จะศึกษา หรือเรียนรู้เกี่ยวกับการทำบ้านนกแอ่นว่ามีข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือ วิชาการอะไรบ้างการที่จะเรียนรู้หรือหาความรู้เกี่ยวกับการทำบ้านนกแอ่น เท่าที่พอจะแนะนำได้มีดังนี้
ประการแรก ผมอยากที่จะให้ท่านท่องจำให้ขึ้นใจเลยว่า เมื่อใดที่ท่านตัดสินใจจะเข้าสู่การเป็นผู้เลี้ยงและทำบ้านนกแอ่น ท่านควรจะทราบว่านกแอ่นชอบสภาพแหล่งที่อยู่แบบไหน นกแอ่นชอบสภาพแหล่งที่อยู่ดังต่อไปนี้
- เป็นสถานที่ที่ปราศจากมลภาวะที่เลวร้าย เช่น หมอกควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
- ปลอดภัยจากศัตรูธรรมชาติทั้งหลาย เช่น ตุ๊กแก แมลงสาป หนู เหยี่ยว นกเค้าแมว งู
- ใกล้แหล่งอาหารที่เพียงพอและไม่จำกัด เช่น ใกล้ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ใกล้แหล่งพืชสวนพืชไร่ มีลุ่มน้ำ แม่น้ำ หรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
- บริเวณใกล้ชายฝั่งที่มีอุณหภูมิล้อมรอบคงที่
- อุณหภูมิประมาณ 28 - 30 องศาเซนเซียส
- ค่าความสว่างของแสง 2-3 ลักซ์
- ค่าความชื้นประมาณ 75 % - 85 %
- ระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่เกิน 2,800 เมตร
หากท่านสามารถเลือกทำเลหรือสภาพแหล่งที่อยู่ได้ดังที่กล่าวถึงนี้ โอกาสในความสำเร็จของบ้านนกแอ่นย่อมสูงมาก
ประการที่สอง ทดลองใช้เสียงเรียกนกแอ่น Swiftlet Chirp เพื่อตรวจสอบปริมาณนกแอ่น โดยทำการทดสอบหลายๆครั้ง ต่างวัน ต่างระยะเวลา เช้า เที่ยง บ่าย เพื่อเพิ่มความมั่นใจนี่คือการเริ่มต้นขั้นแรกที่ดีก่อนการตัดสินใจลงทุนทำบ้านนกแอ่น ส่วนขั้นตอนต่อๆไป หลังจากมั่นใจแล้วว่าทำเลและสถานที่ที่เลือกนั้นเหมาะสมแล้ว ก็อยู่ที่การตัดสินใจว่าจะสร้างบ้านนกแอ่นขึ้นมาโดยออกแบบอย่างดีตามหลักบ้านนกแอ่นที่ดีหรือดัดแปลงอาคารบ้านเรือนที่มีอยู่แล้วให้เป็นบ้านนกแอ่น การดัดแปลงก็สามารถทำให้ถูกหลักได้เช่นกัน ถ้ารู้จักและเข้าใจธรรมชาติของนกแอ่น สนใจเสียงเรียกนกแอ่น Swiftlet Chirp ติดต่อ 080-3791618
ประการที่สาม เงินลงทุนในการทำบ้านนกแอ่น
ถ้าท่านพร้อมทั้งสามข้อแล้วก็ถือว่าท่านพร้อมจะมีบ้านนกแอ่นแล้ว ขอให้ท่านโชคดี